2008-08-26

NIKON D3







เปี่ยมไปด้วยฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายและอีกทั้งยังมีนวัฒกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยเห็นในกล้อง DSLR ตัวอื่นๆในโลกใบนี้อีกหลายประการ

ตัวรับภาพ
ด้วย CMOS เซ็นเซอร์ขนาด 36x23.9mm จึงนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดก้าวหนึ่งของ NIKON ที่จะพัฒนาและแข่งขันต่อไปในตลาดกล้อง DSLR ระดับสูงสุด หลังจากที่ทำสำเร็จโดยการยึดเจ้าตลาดกล้องระดับล่างโดยการส่ง D40 และ D40x ไปครองเป็นเจ้าตลาดในญี่ปุ่นได้สำเร็จ
ISO Sensitivity :
นับเป็นอีกจุดที่กลายเป็นจุดขายและจุดที่ทำให้กล้อง DSLR แตกต่างจากกล้องฟิลม์แบบสิ้นเชิง กล้อง D3 ผลิตออกมาเพื่อให้ครอบคลุมตลาดทั้งสองตลาดคือตลาดกล้องความละเอียดสูงและตลาดกล้องความเร็วสูง การมี ISO ที่ปรับได้ตั้งแต่ 100 ไปจนถึง 25,600 นับว่าเป็นนวัฒกรรมใหม่ของกล้อง DSLR ในยุคนี้เลยทีเดียว


กล้อง D3 เป็นกล้องที่มีความเร็วสูงมาก โดยสามารถเปิดใช้งานภายในระยะเวลาแค่ 0.12 วินาที และก็ยังมี shutter lag ที่ต่ำมากเหมือนกล้องรุ่นสูงสุดที่ผ่านมาของ NIKON คืออยู่ที่ 0.37 milliseconds แต่จุดขายที่สำคัญสำหรับ D3 ก็คือการที่ทำความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องได้ 9 เฟรมต่อวินาทีในภาพขนาด 12.1MP และขยับขึ้นไปสูงสุดที่ 11 เฟรมต่อวินาทีเมื่อใช้ DX format ในภาพขนาด 5.1MP (ซึ่งขนาดภาพเล็กไปนิดเมื่อเทียบกับ 6.8MP ที่ 8 FPS ของ D2X/s)

Multi-CAM 3500 Auto Focus :
ระบบโฟกัสใหม่ในกล้อง D3 เป็นอีกหนึ่งนวัฒกรรมจาก NIKON เพราะเป้นการยกเครื่องและทำให้ดีกว่าของเดิมแบบหมดจด

สีสัน
D3 ให้ความรู้สึกเหมือนได้กลับไปใช้กล้องฟิล์มอีกครั้งหลังจากที่ใช้กล้องดิจิทัลอยู่หลายปี สีสันและคอนทราสต์ที่ออกมานั้นมีทั้งความลึกและความเข้ม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้สึกได้เช่นเดียวกับเมื่อตอนทดสอบ D300

สัญญาณรบกวน
อยู่ในระดับที่พอรับได้ แต่จริงๆถ่ายด้วย ISO 6400 สมรรถภาพของการถ่ายในสภาพแสงต่ำที่ทำได้ดีเยี่ยมนี้เป็นเพียงหนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นอีกมากมายของ D3

รายละเอียด
ข้อสังเกตที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ D3 ไม่ต่างจาก D300 มากนักในเรื่องของรายละเอียดเมื่อถ่ายด้วยค่า ISO ต่ำซึ่งแสดงว่าข้อจำกัดนั้นอาจจะมาจากจำนวนพิกเซลที่มีอยู่ แต่ที่ ISO สูงนั้น D3 ทำได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด

จอ LCD 3 นิ้ว
จอ LCD ไม่ได้มีไว้สำหรับเปิดดูภาพที่ถ่ายไปหรือสำหรับเลือกสั่งงานบนเมนูเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ระบบ Live View เพื่อจัดองค์ประกอบภาพผ่านหน้าจอได้ หรือใช้เพื่อแสดงค่าความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และจำนวนภาพที่ยังเหลือในการถ่าย

ระบบ Active D-Lighting
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Nikon ที่ช่วยเพิ่มสว่างให้กับเงาในภาพที่ถูกถ่ายไป ถ้าคุณถ่ายในโหมด Active D-Lighting กล้องจะปรับการรับแสงเพื่อเก็บรายละเอียดของไฮไลต์ จากนั้นจึงทำการปรับความสว่างด้วย D-Lighting มันทำงานได้ดี แต่ที่เราสงสัยคือทำไมถึงเอาโหมดนี้ไปใส่ไว้เมนู เพราะกว่าจะกดหาเจอก็ต้องใช้เวลา ทั้งที่มันเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากและก็เป็นการทำงานที่เราต้องสลับเปิด-ปิดอยู่บ่อยครั้ง

No comments: